วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

iPSTAR คืออะไร

iPSTAR คืออะไร
iPSTAR เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านทางช่องสัญญาณ ดาวเทียม แบบ สองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) ทั้งนี้ในส่วนของชุดอุปกรณ์ Terminal ได้ถูกออกเแบบมาพิเศษ ให้สามารถ ใช้งาน ได้กับดาวเทียมหลายประเภท โดยไม่ได้ผูกติดว่าจะต้องนำมา ใช้งานกับดาวเทียม iPSTAR เท่านั้น การเปิดให้บริการ iPSTAR ในประเทศไทย จะได้ดำเนินการ ผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของ ACUMEN เพื่อรองรับความต้องการ ในการบริการด้านอินเทอร์เน็ต ที่หลากหลาย และเพิ่มมากยิ่งขึ้นที่เป็นข้อมูลประเภท ไฟล์ข้อมูล ภาพนิ่ง เสียง หรือข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย อาทิเช่น Video on Demand, รายการทางด้าน การศึกษา (E-Learning) และอื่น ๆ อีกมากมายด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้บริการ IPSTAR สามารถเปิดให้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ได้ทั่วประเทศ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งานข้อดีของการใช้ iPSTAR • ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจาก iPSTAR สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทั้งในย่านธุรกิจ ชุมชนเมือง หรือแม้เต่พื้นที่ห่างไกลที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง ในขณะที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอื่นๆ เช่น ADSL และ Cable Modem สามารถให้บริการได้เฉพาะพื้นที่เล็กๆ ในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เท่านั้น • จานรับสัญญาณ ที่ใช้ ในการรับ-ส่งสัญญาณ มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ช่วยประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรศัพท์ • มีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต แบบตลอดเวลา (Always on) โดยผู้ใช้ ไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ทุกครั้งเมื่อต้องการใช้อินเตอร์เนต

ลักษณะการให้บริการของ iPSTAR

ลักษณะการให้บริการของ iPSTAR จะมีลักษณะการทำงาน คล้ายคลึง กับการ เชื่อมต่อ ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อสัญญาณ ประเภทอื่น เพียงผู้ใช้บริการทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์ iPSTAR Terminal และทำการ เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลตรง ระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง ระบบเครือข่าย ได้ออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับระบบการบริหารช่องสัญญาณ จึงทำให้สามารถนำบริการ iPSTAR มาประยุกต์ และใช้งาน ควบคู่กับ Application ต่างๆ หรือลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งในลักษณะ การ ใช้งาน ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน และความต้องการในช่องสัญญาณขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่มีความต้องการ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เฉพาะในบางช่วงเวลา จากรูปภาพแสดงการทำงาน ของระบบ จะเห็นได้ว่าบริการ iPSTAR มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงในการที่จะนำประยุกต์ ใช้ในธุรกิจต่างๆ iPSTAR ได้รับการออกแบบให้มีระบบรับ-ส่งสัญญาณความเร็วสูงที่มีสมรรถภาพและเสถียรภาพเป็นเลิศ พร้อมระบบบริหารช่องสัญญาณที่ทรงประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถนำบริการไอพีสตาร์ มาประยุกต์ใช้งานควบคู่กับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย อาทิ เช่น การรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ , การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านทางอินเตอร์เน็ต , การประยุกต์ใช้งานด้านเสียง (Voice Service) , การแพร่สัญญาณภาพและเสียงสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร (Broadcasting) , การสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายภายในอาคารสำนักงานหรืออาคารที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และต้องการใช้ช่องสัญญาณขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเฉพาะในบางช่วงเวลา

ประโยชน์ในการใช้งาน ด้านการศึกษา

• ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของนักเรียนและสถานบันการศึกษาทั่วประเทศ
• กระจายความเจริญและทรัพยากรทางด้านการศึกษาไปทุกพื้นที่ หรือจังหวัดที่ห่างไกล
• เปิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ทางด้านการศึกษาของเยาวชนไทยให้กว้างขึ้น
• แหล่งข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมาจากแหล่งข้อมูลจริงและทันต่อเหตุการณ์
• สร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ที่ทุกพื้นที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ด้านธุรกิจ
• สร้างภาพพจน์ของความเป็นผู้นำให้แก่กลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทฯ ในเครือ
• ได้รับความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารขององค์กร ที่จะรับ-ส่ง ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว , E-mail
• ข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายและกว้างขวาง ทำให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
• เพิ่มการให้บริการที่ดีรวดเร็ว แก่ลูกค้าขององค์กรในปัจจุบัน
• เพิ่มช่องทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ของผู้ใช้บริการแก่สาธารณชน รวมทั้งการนำเสนอเพื่อกระจายข้อมูลไปยังทั่วโลกได้
• เพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้าที่กว้างมากยิ่งขึ้น
• สามารถประกอบธุรกิจแบบเรียลไทม์ เช่น การตัดหักชำระค่าบริการผ่านอินเตอร์เน็ตจากบัตรเครดิตต่างๆ ได้
• ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้ โทรสาร หรือ โทรศัพท์
• ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
• ประหยัดทรัพยากรที่มีคุณค่า
• สนับสนุนให้ประชากรมีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
• เพิ่มทางเลือกในการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

รูปแบบเครือข่ายการให้บริการ


ภาพแสดงเครือข่ายการให้บริการ Two ways Broadband Internet

บริการของ iPSTAR สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล รูปแบบการใช้งานของบริการ iPSTAR 1. ให้บริการบรอดแบรนด์อินเตอร์เนต (Broadband Internet) ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยความเร็วที่ 256/128 Kbps แบบไม่จำกัดเวลาการใช้งาน (Unlimited) 2. ออกแบบเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียมได้ (VDO Conference ) 3. สามารถให้บริการทางด้านโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม โดยใช้เทคโนโลยี Voice Over Internet Protocal (VOIP) วัตถุประสงค์
• สนับสนุนภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการให้บริการอินเตอร์เนตสาธารณะกับประชาชน
• รับ-ส่งข้อมูล , ข่าวสารได้รวดเร็ว , แม่นยำและมีประสิทธิภาพ
• เชื่อมโยงโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลได้ทั่วประเทศ / ทั่วโลก
• แบ่งปันทรัพยากร ( Bandwidth ) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จุดเด่นของบริการ iPSTAR สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล
• ให้บริการอินเตอร์เนตกับประชาชนตามนโยบายรัฐบาล
• รับส่งข้อมูลกับส่วนงานกลางและหน่วยอื่นๆได้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานย่อยต่างๆ ได้ในทุกพื้นที่ของกระทรวง ลักษณะการทำงาน เป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อ แบบ เดียวกัน กับการเชื่อมต่อผ่านสื่อ แบบคู่สายเช่า (Leased Line) แต่เปลี่ยน มา ใช้สื่อเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์ และช่องสัญญาณดาวเทียมแทน และใช้ บริการ ที่คุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็น อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับ กลุ่ม ลูกค้าที่ต้องการ ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล หรือบริการ แบบคู่สายเช่าไปไม่ถึง สามารถขอใช้บริการ ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย
• บริการอินเตอร์เนตสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล

การนำ iPSTAR มาประยุกต์ใช้ 1. การประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม : iPSTAR for Video Conferencing (VDC) การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference : VDC ) จัดเป็นการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการบรอดแบรนด์ ระบบ iPSTAR ทั้งยังสนับสนุนมาตรฐาน H.323 สำหรับ VDC อีกทั้งการควบคุม และจัดสรรช่องสัญญาณรวมตลอดจนความยืดหยุ่นและรวดเร็วในการปรับความเร็ว ตามความต้องการใช้งานของ ระบบ iPSTAR ทำให้การใช้งาน VDC จากเดิมที่เคยมีความยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์ และมีค่าบริการที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งความเร็วในการส่งข้อมูลถูกจำกัด เปลี่ยนมาเป็นความสะดวก รวดเร็ว ราคาถูก และสามารถประชุมทางไกลจาก ที่ใดก็ได้ ในลักษณะ Client/Server ผ่าน IP Network ของ iPSTAR นอกจากนี้ iPSTAR ยังมีจุดเด่นความสามารถด้าน Broadcast และ Multicast ทำให้สามารถแพร่ภาพและ ข้อมูลไปยังเครือข่ายหรือสาขา ที่มีจำนวนอุปกรณ์ปลายทางจำนวน มาก สามารถรับสัญญาณภาพทุกสาขาพร้อมกันได้
จุดเด่นของการทำงาน VDC
1. ราคาประหยัด และถูกกว่าการให้บริการแบบอื่นๆ มาก หากเปรียบเทียบกับ การใช้งานผ่านระบบอื่นๆ แบบเดิม
2. การติดตั้งง่าย ต่อจุดติดตั้ง 1 จุด สามารถติดตั้งได้เสร็จภายใน 1 วัน
3. หากเป็นการให้บริการแบบ Multicast คุณภาพของสัญญาณ ข้อมูล ที่ได้รับทุกสาขาปลายทาง สามารถรับสัญญาณได้เหมือนกัน และคุณภาพเดียวกัน
4. ระบบ IPSTAR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการร่วมกับการควบคุมการประชุมได้ เช่น การเพิ่ม/ลด จำนวนผู้เข้าประชุม , การแบ่งห้องประชุมออกเป็นหลายๆ ห้อง และใช้ไฟล์งานเข้าประชุมร่วมกันพร้อมๆ กัน
5. ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ในแบบแม่ข่าย / ลูกข่าย ( Client/Server ) ที่กำลังแพร่หลายได้

รูปภาพแสดง iPSTAR for Video Conferencing (VDC)



2. การใช้งานแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) iPSTAR เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้งานผ่านเครือข่าย iPSTAR สามารถเข้าสู่โลกของข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้ และความ บันเทิงต่างๆ แบบ Multimedia ได้อย่างรวดเร็วและไม่มีขีดจำกัดด้านความเร็วอีกต่อไป ทั้งยังเป็นบริการที่มีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) และสามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้าอินเตอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้งานอื่นๆ บน IP Platform
จุดเด่นของการใช้งาน
• อุปกรณ์ไอพีสตาร์ สามารถใช้ในการรับส่ง- ข้อมูลได้ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุดถึง 8 Mbps ในด้านรับ และ 2.5 Mbps ในด้านส่ง
• ไอพีสตาร์ สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูล ภาพ เสียง ได้โดยไม่ถูกจำกัด และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เครือข่าย IP จากที่ใดๆ ก็ได้ ในกรณีที่เครือข่ายสายภาคพื้นดินยังไปไม่ถึง
• ผู้ใช้สามารถใช้งานไอพีสตาร์ ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ อาทิเช่น การร่วมประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ( Video Confernece) , การดาวโหลดข้อมูลภาพและเสียง และอื่นๆ
• ส่งข้อมูล ด้วยอุปกรณ์ปลายทาง สามารถกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งาน และเพื่อให้การใช้แบนด์วิดท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
• ผู้ใช้งานที่อุปกรณ์ไอพีสตาร์ปลายทาง ทุกจุดติดตั้งสามารถรับสัญญาณด้วยคุณภาพเดียวกัน กับสัญญาณที่ส่งมาจากส่วนกลาง และยังสามารถรับสัญญาณได้แบบไม่จำกัดจำนวนผู้รับ
รูปภาพแสดงการใช้งานแบบ Multimedia



ชุดอุปกรณ์ของ iPSTAR มีอุปกรณ์ซึ่งประกอบไปด้วย
• Indoor Unit ( IDU )
1. iPSTAR Professional Series


2. iPSTAR Voice Series

• Outdoor Unit ( IDU )
3. จานดาวเทียมขนาด 1.2 เมตร LNB


อุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ประกอบเพิ่มเติม คือ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์
• CPU ระดับ Pentium MMX 200 MHz ขึ้นไป
• หน่วยความจำระดับ 64 MB ขึ้นไป
• พื้นที่เก็บข้อมูล 20 MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม
• เครื่องเล่นแผ่น CD ( CD-ROM Drive )
• ช่องต่ออุปกรณ์แบบ USB Port
• อุปกรณ์เครือข่าย ( LAN Card ) 2. อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมเครือข่ายภายใน (LAN) ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อมากกว่า 1 เครื่อง

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่าย iPSTAR ระบบเครือข่าย iPSTAR FG สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง ได้หลายรูปแบบ ได้แก่
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Symmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับและขาส่งใกล้เคียงกัน เช่น การประชุมทางไกล
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Aysmmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับมากกว่าขาส่ง เช่น Multimedia Internet Access
• การรับข้อมูลทางเดียวแบบ Broadcast หรือ Multicast เช่น การศึกษาทางไกล เครือข่าย IPSTAR ได้รับการออกแบบมา ให้สามารถรองรับการสื่อสารได้ทั้ง Voice, Data, และ Video บน Internet Protocol (IP) Platform ได้ที่ความเร็วสูงสุด 8 Mbps สำหรับขารับ และ 2.5 Mbps สำหรับขาส่ง

เทคโนโลยีใหม่ๆ

Nintendo DS TV เครื่องเล่นเกมส์คอนโซล ไอเดีย เทคโนโลยี ใหม่ๆ