วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

iPSTAR คืออะไร

iPSTAR คืออะไร
iPSTAR เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านทางช่องสัญญาณ ดาวเทียม แบบ สองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) ทั้งนี้ในส่วนของชุดอุปกรณ์ Terminal ได้ถูกออกเแบบมาพิเศษ ให้สามารถ ใช้งาน ได้กับดาวเทียมหลายประเภท โดยไม่ได้ผูกติดว่าจะต้องนำมา ใช้งานกับดาวเทียม iPSTAR เท่านั้น การเปิดให้บริการ iPSTAR ในประเทศไทย จะได้ดำเนินการ ผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของ ACUMEN เพื่อรองรับความต้องการ ในการบริการด้านอินเทอร์เน็ต ที่หลากหลาย และเพิ่มมากยิ่งขึ้นที่เป็นข้อมูลประเภท ไฟล์ข้อมูล ภาพนิ่ง เสียง หรือข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย อาทิเช่น Video on Demand, รายการทางด้าน การศึกษา (E-Learning) และอื่น ๆ อีกมากมายด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้บริการ IPSTAR สามารถเปิดให้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ได้ทั่วประเทศ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งานข้อดีของการใช้ iPSTAR • ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจาก iPSTAR สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทั้งในย่านธุรกิจ ชุมชนเมือง หรือแม้เต่พื้นที่ห่างไกลที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง ในขณะที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอื่นๆ เช่น ADSL และ Cable Modem สามารถให้บริการได้เฉพาะพื้นที่เล็กๆ ในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เท่านั้น • จานรับสัญญาณ ที่ใช้ ในการรับ-ส่งสัญญาณ มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ช่วยประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรศัพท์ • มีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต แบบตลอดเวลา (Always on) โดยผู้ใช้ ไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ทุกครั้งเมื่อต้องการใช้อินเตอร์เนต

ลักษณะการให้บริการของ iPSTAR

ลักษณะการให้บริการของ iPSTAR จะมีลักษณะการทำงาน คล้ายคลึง กับการ เชื่อมต่อ ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อสัญญาณ ประเภทอื่น เพียงผู้ใช้บริการทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์ iPSTAR Terminal และทำการ เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลตรง ระหว่างอุปกรณ์ปลายทาง ระบบเครือข่าย ได้ออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับระบบการบริหารช่องสัญญาณ จึงทำให้สามารถนำบริการ iPSTAR มาประยุกต์ และใช้งาน ควบคู่กับ Application ต่างๆ หรือลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งในลักษณะ การ ใช้งาน ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน และความต้องการในช่องสัญญาณขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่มีความต้องการ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เฉพาะในบางช่วงเวลา จากรูปภาพแสดงการทำงาน ของระบบ จะเห็นได้ว่าบริการ iPSTAR มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงในการที่จะนำประยุกต์ ใช้ในธุรกิจต่างๆ iPSTAR ได้รับการออกแบบให้มีระบบรับ-ส่งสัญญาณความเร็วสูงที่มีสมรรถภาพและเสถียรภาพเป็นเลิศ พร้อมระบบบริหารช่องสัญญาณที่ทรงประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถนำบริการไอพีสตาร์ มาประยุกต์ใช้งานควบคู่กับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย อาทิ เช่น การรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ , การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านทางอินเตอร์เน็ต , การประยุกต์ใช้งานด้านเสียง (Voice Service) , การแพร่สัญญาณภาพและเสียงสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร (Broadcasting) , การสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายภายในอาคารสำนักงานหรืออาคารที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และต้องการใช้ช่องสัญญาณขนาดใหญ่ องค์กรขนาดกลางที่มีการใช้งานในระดับปกติ หรือองค์กรขนาดเล็ก (SME) ที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเฉพาะในบางช่วงเวลา

ประโยชน์ในการใช้งาน ด้านการศึกษา

• ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของนักเรียนและสถานบันการศึกษาทั่วประเทศ
• กระจายความเจริญและทรัพยากรทางด้านการศึกษาไปทุกพื้นที่ หรือจังหวัดที่ห่างไกล
• เปิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ทางด้านการศึกษาของเยาวชนไทยให้กว้างขึ้น
• แหล่งข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมาจากแหล่งข้อมูลจริงและทันต่อเหตุการณ์
• สร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ที่ทุกพื้นที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ด้านธุรกิจ
• สร้างภาพพจน์ของความเป็นผู้นำให้แก่กลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทฯ ในเครือ
• ได้รับความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารขององค์กร ที่จะรับ-ส่ง ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว , E-mail
• ข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายและกว้างขวาง ทำให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
• เพิ่มการให้บริการที่ดีรวดเร็ว แก่ลูกค้าขององค์กรในปัจจุบัน
• เพิ่มช่องทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ของผู้ใช้บริการแก่สาธารณชน รวมทั้งการนำเสนอเพื่อกระจายข้อมูลไปยังทั่วโลกได้
• เพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้าที่กว้างมากยิ่งขึ้น
• สามารถประกอบธุรกิจแบบเรียลไทม์ เช่น การตัดหักชำระค่าบริการผ่านอินเตอร์เน็ตจากบัตรเครดิตต่างๆ ได้
• ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้ โทรสาร หรือ โทรศัพท์
• ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
• ประหยัดทรัพยากรที่มีคุณค่า
• สนับสนุนให้ประชากรมีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
• เพิ่มทางเลือกในการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

รูปแบบเครือข่ายการให้บริการ


ภาพแสดงเครือข่ายการให้บริการ Two ways Broadband Internet

บริการของ iPSTAR สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล รูปแบบการใช้งานของบริการ iPSTAR 1. ให้บริการบรอดแบรนด์อินเตอร์เนต (Broadband Internet) ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยความเร็วที่ 256/128 Kbps แบบไม่จำกัดเวลาการใช้งาน (Unlimited) 2. ออกแบบเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียมได้ (VDO Conference ) 3. สามารถให้บริการทางด้านโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม โดยใช้เทคโนโลยี Voice Over Internet Protocal (VOIP) วัตถุประสงค์
• สนับสนุนภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการให้บริการอินเตอร์เนตสาธารณะกับประชาชน
• รับ-ส่งข้อมูล , ข่าวสารได้รวดเร็ว , แม่นยำและมีประสิทธิภาพ
• เชื่อมโยงโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลได้ทั่วประเทศ / ทั่วโลก
• แบ่งปันทรัพยากร ( Bandwidth ) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จุดเด่นของบริการ iPSTAR สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล
• ให้บริการอินเตอร์เนตกับประชาชนตามนโยบายรัฐบาล
• รับส่งข้อมูลกับส่วนงานกลางและหน่วยอื่นๆได้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานย่อยต่างๆ ได้ในทุกพื้นที่ของกระทรวง ลักษณะการทำงาน เป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อ แบบ เดียวกัน กับการเชื่อมต่อผ่านสื่อ แบบคู่สายเช่า (Leased Line) แต่เปลี่ยน มา ใช้สื่อเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์ และช่องสัญญาณดาวเทียมแทน และใช้ บริการ ที่คุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็น อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับ กลุ่ม ลูกค้าที่ต้องการ ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล หรือบริการ แบบคู่สายเช่าไปไม่ถึง สามารถขอใช้บริการ ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย
• บริการอินเตอร์เนตสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล

การนำ iPSTAR มาประยุกต์ใช้ 1. การประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม : iPSTAR for Video Conferencing (VDC) การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference : VDC ) จัดเป็นการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการบรอดแบรนด์ ระบบ iPSTAR ทั้งยังสนับสนุนมาตรฐาน H.323 สำหรับ VDC อีกทั้งการควบคุม และจัดสรรช่องสัญญาณรวมตลอดจนความยืดหยุ่นและรวดเร็วในการปรับความเร็ว ตามความต้องการใช้งานของ ระบบ iPSTAR ทำให้การใช้งาน VDC จากเดิมที่เคยมีความยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์ และมีค่าบริการที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งความเร็วในการส่งข้อมูลถูกจำกัด เปลี่ยนมาเป็นความสะดวก รวดเร็ว ราคาถูก และสามารถประชุมทางไกลจาก ที่ใดก็ได้ ในลักษณะ Client/Server ผ่าน IP Network ของ iPSTAR นอกจากนี้ iPSTAR ยังมีจุดเด่นความสามารถด้าน Broadcast และ Multicast ทำให้สามารถแพร่ภาพและ ข้อมูลไปยังเครือข่ายหรือสาขา ที่มีจำนวนอุปกรณ์ปลายทางจำนวน มาก สามารถรับสัญญาณภาพทุกสาขาพร้อมกันได้
จุดเด่นของการทำงาน VDC
1. ราคาประหยัด และถูกกว่าการให้บริการแบบอื่นๆ มาก หากเปรียบเทียบกับ การใช้งานผ่านระบบอื่นๆ แบบเดิม
2. การติดตั้งง่าย ต่อจุดติดตั้ง 1 จุด สามารถติดตั้งได้เสร็จภายใน 1 วัน
3. หากเป็นการให้บริการแบบ Multicast คุณภาพของสัญญาณ ข้อมูล ที่ได้รับทุกสาขาปลายทาง สามารถรับสัญญาณได้เหมือนกัน และคุณภาพเดียวกัน
4. ระบบ IPSTAR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการร่วมกับการควบคุมการประชุมได้ เช่น การเพิ่ม/ลด จำนวนผู้เข้าประชุม , การแบ่งห้องประชุมออกเป็นหลายๆ ห้อง และใช้ไฟล์งานเข้าประชุมร่วมกันพร้อมๆ กัน
5. ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ในแบบแม่ข่าย / ลูกข่าย ( Client/Server ) ที่กำลังแพร่หลายได้

รูปภาพแสดง iPSTAR for Video Conferencing (VDC)



2. การใช้งานแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) iPSTAR เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้งานผ่านเครือข่าย iPSTAR สามารถเข้าสู่โลกของข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้ และความ บันเทิงต่างๆ แบบ Multimedia ได้อย่างรวดเร็วและไม่มีขีดจำกัดด้านความเร็วอีกต่อไป ทั้งยังเป็นบริการที่มีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) และสามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้าอินเตอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้งานอื่นๆ บน IP Platform
จุดเด่นของการใช้งาน
• อุปกรณ์ไอพีสตาร์ สามารถใช้ในการรับส่ง- ข้อมูลได้ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุดถึง 8 Mbps ในด้านรับ และ 2.5 Mbps ในด้านส่ง
• ไอพีสตาร์ สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูล ภาพ เสียง ได้โดยไม่ถูกจำกัด และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เครือข่าย IP จากที่ใดๆ ก็ได้ ในกรณีที่เครือข่ายสายภาคพื้นดินยังไปไม่ถึง
• ผู้ใช้สามารถใช้งานไอพีสตาร์ ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ อาทิเช่น การร่วมประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ( Video Confernece) , การดาวโหลดข้อมูลภาพและเสียง และอื่นๆ
• ส่งข้อมูล ด้วยอุปกรณ์ปลายทาง สามารถกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งาน และเพื่อให้การใช้แบนด์วิดท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
• ผู้ใช้งานที่อุปกรณ์ไอพีสตาร์ปลายทาง ทุกจุดติดตั้งสามารถรับสัญญาณด้วยคุณภาพเดียวกัน กับสัญญาณที่ส่งมาจากส่วนกลาง และยังสามารถรับสัญญาณได้แบบไม่จำกัดจำนวนผู้รับ
รูปภาพแสดงการใช้งานแบบ Multimedia



ชุดอุปกรณ์ของ iPSTAR มีอุปกรณ์ซึ่งประกอบไปด้วย
• Indoor Unit ( IDU )
1. iPSTAR Professional Series


2. iPSTAR Voice Series

• Outdoor Unit ( IDU )
3. จานดาวเทียมขนาด 1.2 เมตร LNB


อุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ประกอบเพิ่มเติม คือ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์
• CPU ระดับ Pentium MMX 200 MHz ขึ้นไป
• หน่วยความจำระดับ 64 MB ขึ้นไป
• พื้นที่เก็บข้อมูล 20 MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม
• เครื่องเล่นแผ่น CD ( CD-ROM Drive )
• ช่องต่ออุปกรณ์แบบ USB Port
• อุปกรณ์เครือข่าย ( LAN Card ) 2. อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมเครือข่ายภายใน (LAN) ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อมากกว่า 1 เครื่อง

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่าย iPSTAR ระบบเครือข่าย iPSTAR FG สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง ได้หลายรูปแบบ ได้แก่
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Symmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับและขาส่งใกล้เคียงกัน เช่น การประชุมทางไกล
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Aysmmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับมากกว่าขาส่ง เช่น Multimedia Internet Access
• การรับข้อมูลทางเดียวแบบ Broadcast หรือ Multicast เช่น การศึกษาทางไกล เครือข่าย IPSTAR ได้รับการออกแบบมา ให้สามารถรองรับการสื่อสารได้ทั้ง Voice, Data, และ Video บน Internet Protocol (IP) Platform ได้ที่ความเร็วสูงสุด 8 Mbps สำหรับขารับ และ 2.5 Mbps สำหรับขาส่ง

เทคโนโลยีใหม่ๆ

Nintendo DS TV เครื่องเล่นเกมส์คอนโซล ไอเดีย เทคโนโลยี ใหม่ๆ

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

น้ำตกห้วยโรง หรือ น้ำตกห้วยลง

น้ำตกห้วยโรง หรือ น้ำตกห้วยลง
น้ำตกห้วยโรงจังหวัดแพร่มีความสวยงามไม่แพ้น้ำตกแห่งอื่นๆและสำหรับน้ำตกห้วยโรง ต.ห้วยโรงอ.ร้องกวางจ.แพร่ แห่งนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคsวามสวยงาม


อินเทอร์เน็ต

ความหมายอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Networkอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspaceคำเกี่ยวข้องที่ควรทราบCyberspace เป็นคำที่ William Gibson นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บัญญัติ เพื่อใช้ในเรื่องที่แต่ง ปัจจุบันหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่าย ที่แยกกัน แต่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แม้จะใช้กฎเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ที่แตกต่างกันก็ตาม ดังนั้น Internet เป็นเพียงเครือข่ายหนึ่งของ Cyberspace เท่านั้นInformation Superhighway หรือทางด่วนข้อมูล เป็นโครงสร้างของระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน (Infrastructure) ในการรับส่งข้อมูลดิจิทอล ที่มีความเร็วสูง เชื่อถือได้ มีความปลอดภัย Internet เป็นเพียงต้นแบบหนึ่งของ I-Way นี้เช่นกันความสำคัญของอินเทอร์เน็ตปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้1. ด้านการศึกษาสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น2. ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น3. ด้านการบันเทิงการพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย- การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว- แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกโดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กรพัฒนาการของ Internetปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุดการเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่- มหาวิทยาลัยยูทาห์- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส- สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียวงานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วยพ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้งระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยโมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC สายโทรศัพท์ทองแดง โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไปนับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทยหลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวางปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCPเครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ"หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสารปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

1.เทคโนโลยี

......คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ